Style Guide Thai (th)
เรื่องพื้นฐาน (Basic)
ชื่อ
ห้ามแปลชื่อผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า หรือคุณสมบัติเป็นภาษาไทย ใช้ภาษาอังกฤษตามเดิม เช่น Firefox, Android, iOS หรือ Firefox Account ทั้งนี้จะมีผลิตภัณฑ์บางอย่างที่แปลเป็นภาษาไทยได้ ซึ่งจะต้องแปลตามที่ตกลงกันในอภิธานศัพท์ซึ่งอยู่ในหน้านี้
ตัวเลข
หากต้นฉบับเป็นตัวเลข ใช้ตัวเลขอารบิกเสมอ และใช้ลูกน้ำ ( , ) เป็นตัวคั่นทุกหลักพัน แต่หากต้นฉบับเป็นคำ ให้ใช้คำ ดังตัวอย่าง
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
1,000,000 downloads | 1,000,000 การดาวน์โหลด |
A million downloads | หนึ่งล้านการดาวน์โหลด |
วัน
ใช้การเรียงลำดับ วัน เดือน ปี โดยใช้ปีคริสต์ศักราช ดังตัวอย่าง
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
Monday, April 21, 2014 | วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2014 |
August 23, 2012 | 23 สิงหาคม 2012 |
02 Jun 14 | 2 มิ.ย. 14 |
เวลา
ใช้ระบบ 24 ชั่วโมง ดังตัวอย่าง
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
Saturday, May 4 2012 at 2:01 pm | วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2012 เวลา 14.01 น. |
8:00 am – 4:00 pm | 8.00 – 16.00 น. |
8:00 am – 4:00 pm | 8.00 – 16.00 น. |
เครื่องหมายวรรคตอน
ห้ามใช้มหัพภาค ( . ) ที่ท้ายประโยคเพื่อปิดประโยค
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
This is a string. | นี่คือสตริง |
ไม่ควรใช้จุลภาคหรือลูกน้ำ ( , ) ในการแบ่งคำภาษาไทย แต่ถ้าคำนั้นเป็นภาษาอังกฤษให้พิจารณาตามความเหมาะสม
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
Your browsing, download, form and search history | การเรียกดู, การดาวน์โหลด, แบบฟอร์ม และประวัติการค้นหา |
ควรใช้ทวิภาคหรือจุดคู่ (:) แบบไม่เว้นวรรคด้านหน้า และเว้นวรรคด้านหลัง 1 ครั้ง
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
Note: This is a message | หมายเหตุ: นี่คือข้อความ |
การใช้ไม้ยมก ( ๆ ) ควรใช้แบบเว้นวรรคด้านหน้าและหลัง แต่สามารถใช้แบบทั้งเว้นวรรคด้านหลังเครื่องหมายอย่างเดียวได้ โดยจะต้องเว้นวรรคด้านหน้าเสมอ
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
and much more | และอื่นๆ อีกมากมาย |
and much more | และอื่น ๆ อีกมากมาย |
ควรใช้ปรัศนีหรือเครื่องหมายคำถาม ( ? ) แบบไม่เว้นวรรคด้านหน้า แต่สามารถใช้แบบทั้งเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังเครื่องหมายได้
คำย่อ
หน่วยเวลา
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
Sun. | อา. |
Mon. | จ. |
Tue. | อ. |
Wed. | พ. |
Thu. | พฤ. |
Fri. | ศ. |
Sat. | ส. |
เดือน: ม.ค., ก.พ., มี.ค., เม.ย., พ.ค., มิ.ย., ก.ค., ส.ค., ก.ย., ต.ค., พ.ย., ธ.ค.
ชั่วโมง นาที และวินาที: ชม. นาที วินาที แต่ในกรณีที่พื้นที่ในการแสดงผลไม่พอ สามารถใช้ น. กับ วิ สำหรับหน่วยนาทีและวินาทีได้
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
APR | เม.ย. |
1 h 30 m | 1 ชม. 30 นาที |
คำย่ออื่น ๆ ในภาษาอังกฤษ
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
URL | URL |
SIM | SIM |
OK | ตกลง |
ลักษณะการแปล 3 แบบ
- แปล เช่น Developer -> นักพัฒนา
- แปลแบบทับศัพท์ เช่น Server -> เซิร์ฟเวอร์ (ไม่ใช้คำว่า “แม่ข่าย”)
- ไม่แปล เช่น Firefox Quantum -> Firefox Quantum
หลักการที่ชุมชนใช้จะเป็นตามลำดับข้างต้น หากแปลเป็นภาษาไทยได้ให้แปล แต่หากแปลแล้วไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือฝืน ให้แปลแบบทับศัพท์ตามสมัยนิยมที่แพร่หลาย หรือไม่แปลเลยหากเป็นชื่อเฉพาะ/เครื่องหมายการค้า ซึ่งศัพท์เฉพาะของ Mozilla ได้อธิบายไว้ในอภิธานศัพท์ที่อยู่ในหน้านี้แล้ว
สมัยนิยม เช่น ในอดีตแปลคำว่า “File” เป็น “แฟ้ม” แต่ในปัจจุบันคำว่าแฟ้มไม่เป็นที่แพร่หลายแล้ว จึงแนะนำให้แปลทับศัพท์ว่า “ไฟล์”
ประเด็นในคำแปล Share = แชร์, แบ่งปัน - ควรแปลหรือแปลแบบทับศัพท์?
การพิจารณาคำแปล
น้ำเสียงของคำ (Tone of voice)
เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ จริงจังหรือไม่จริงจัง โดยทั่วไปแล้วมักจะมีความต่างทางวัฒนธรรม มุกตลกในภาษาอังกฤษอาจไม่สามารถแปลเป็นไทยได้ ในหลายครั้งมีการเล่นคำ แต่เวลาแปลให้แปลเป็นคำปกติ
จุดสำคัญของการแปล คือจะต้องคงความเป็นกลางทางน้ำเสียงของคำไว้
ความสม่ำเสมอของคำแปล (Consistency)
คำแปลนั้นไม่สามารถทำให้สม่ำเสมอได้ทั้งหมด แต่ควรทำให้สม่ำเสมอมากที่สุด โดยใช้เครื่องมือ https://transvision.mozfr.org/consistency/?locale=th ต้นฉบับเดียวกันควรแปลแบบเดียวกันให้ได้มากที่สุด มิฉะนั้นคำแปลจะกระจัดกระจายและทำให้ผู้ใช้ไม่ทราบว่าต้นฉบับเป็นคำเดียวกัน
หากตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนคำแปลใดคำแปลหนึ่งควรเปลี่ยนสตริงทั้งหมดที่มี ดูคำแปลที่คล้ายกันก่อนการแปลจะช่วยให้คำแปลเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น https://transvision.mozfr.org/consistency/?locale=th&repo=gecko_strings&filter=all
ความสามัญ (Generic)
“Browsing history” หากใน Firefox แปลว่า “ประวัติการท่องเว็บ” หากมีคำเดียวกันนี้ใน Thunderbird จะไม่สามารถแปลแบบเดียวกันได้ เพราะบริบทไม่ใช่การท่องเว็บ เพราะคำว่า “ท่องเว็บ” ไม่สามัญเพียงพอจะนำไปใช้ได้ทั่วไป จึงควรแปลว่า “ประวัติการเรียกดู” ซึ่งทำให้คงความสม่ำเสมอและเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
อย่างไรก็ตาม บางกรณีก็มีข้อยกเว้น เช่น “Reviews” บางที่ที่เป็นการรีวิวโดยผู้ใช้จำเป็นต้องแปลว่า “บทวิจารณ์” แต่หากเป็นการตรวจทานโดยผู้ดูแลเราจะแปลว่า “การตรวจทาน” ขึ้นอยู่กับบริบท
ความเข้าใจง่าย (Easy to understand, Intuitive)
ใช้ภาษาระดับกลางที่เข้าใจได้ทุกคน ไม่ว่าจะมีความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือไม่ ไม่แปลเป็นคำที่ยากต่อการเข้าใจ หรือต้องแปลจากไทยเป็นไทยอีกรอบ
เคารพต้นฉบับ (Retain source)
หากต้นฉบับเขียนตัวเลขเป็นตัวอักษร “Three” ควรแปลว่า “สาม” หากต้นฉบับใช้ตัวย่อ เช่น “Wed.” ควรแปลว่า “พ.” เว้นแต่จะไม่มีตัวย่อนั้นในภาษาไทยจึงเขียนตัวเต็ม ในกรณีส่วนใหญ่หากต้นฉบับเขียนตัวย่อเป็นตัวใหญ่หมด เช่น “SD” เราจะคงคำนั้นไว้เมื่อแปล เช่น “SD Card” เป็น “การ์ด SD” ยกเว้น “OK” แปลว่า “ตกลง” การเคารพต้นฉบับนั้น จะทำในกรณีที่ต้นฉบบับสามารถแปลเป็นภาษาไทยแล้วไม่ผิดเพี้ยนจากหลักไวยากรณ์มากนัก แต่หากต้นฉบับแปลมาแล้วผิดจากหลักไวยากรณ์ภาษาไทยมากเกินไป หรือไม่ตรงตามข้อตกลงของชุมชน จะต้องปรับเปลี่ยน
ยึดตามไวยากรณ์ (Grammar)
การสะกดคำถูกต้อง โดยทั่วไปคำที่สะกดผิดไม่สามารถขึ้นได้
ยึดตามข้อตกลงของชุมชน (Community agreement and glossary)
การควบคุมคุณภาพ
- คำบางคำ เช่น Picture, Photo, Image ดูจากคำแปลเก่าที่เคยแปล ในแถบ Machinery
- ไม่คิดคำแปลขึ้นมาใหม่ที่ไม่เหมือนของเดิม เพราะจะทำให้เสียความสม่ำเสมอ เว้นแต่มีเหตุผลจำเป็นในการทำเช่นนั้น
- ไม่แปะคำแปลจากเครื่องมือแปลภาษา เช่น Google Translate โดยไม่ผ่านการกลั่นกรอง
- คุณภาพของคำแปลสำคัญกว่าปริมาณ พยายามแปลสตริงที่สำคัญกว่าก่อน
- สร้างเอกสารกลางสำหรับอ้างอิง
- หากคำแปลที่เสนอไม่ได้รับการตรวจทานนานเกินไปสามารถแจ้งผู้ดูแลได้ทาง Telegram เพราะบางครั้งอาจมีการตกหล่นเนื่องจากปริมาณสตริงที่มีจำนวนมาก
- ปรับลำดับประโยค (ประธาน กริยา กรรม) ในการแปล เพื่อให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น เช่น What is Pontoon? = Pontoon คืออะไร? (ไม่ใช้ “อะไรคือ Pontoon?” เพราะไม่เป็นธรรมชาติ และไม่มีความจำเป็นต้องคงลำดับของคำตามภาษาต้นฉบับ)
- ตัดคำเมื่อจำเป็น เช่น ต้นฉบับ “It” จะไม่แปลว่า “มัน” แต่จะตัดทิ้งเลยไม่แปล เพราะภาษาไทยไม่นิยมคำว่า “มัน”
- ตัดรูปพหูพจน์ออกจากคำ เพราะภาษาไทยไม่มีพหูพจน์ เช่น
ต้นฉบับ | คำแปล | หมายเหตุ |
---|---|---|
URLs | URL | ตัดตัว s ออกจากคำแปล |
อภิธานศัพท์ (Glossary)
อภิธานศัพท์สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Mozilla ใช้เพื่ออ้างอิงในการแปลผลิตภัณฑ์และคุณลักษณะต่าง ๆ ของ Mozilla โดยมากจะเป็นเครื่องหมายทางการค้า อภิธานศัพท์นี้มีจุดประสงค์เพื่อให้การแปลใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ของ Mozilla ตรงกัน
ต้นฉบับ | คำแปล |
---|---|
Mozilla | Mozilla |
Mozilla Foundation | มูลนิธิ Mozilla |
Mozilla WebThings | Mozilla WebThings |
Firefox | Firefox |
Firefox Browser | เบราว์เซอร์ Firefox |
Firefox for iOS | Firefox สำหรับ iOS |
Firefox for Android | Firefox สำหรับ Android |
Firefox Account | บัญชี Firefox |
Firefox Developer Edition | Firefox รุ่นนักพัฒนา |
Firefox Nightly | Firefox Nightly |
Firefox Sync | Firefox Sync |
Firefox Focus | Firefox Focus |
Firefox Monitor | Firefox Monitor |
Firefox Premium | Firefox Premium |
Tracking Protection | ป้องกันการตามรอย |
Firefox Lockbox | Firefox Lockbox |
Firefox Send | Firefox Send |
Facebook Container | Facebook Container |